วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ได้อธิบาย

กำหนดการส่งงาน กำหนดการสอบ

ภาพการเรียนออนไลน์




ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายงานได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันศุกร์ ที่ 17 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้ส่งแบบสังเกตพฤติกรรม1แผ่นอาจารย์จะสุ่มหยิบตัวอย่างมาพูดคุยใครมีปัญหาตรงไหนใครต้องแก้ไขตรงจุดไหน และอาจารย์ได้หยิบของดิฉันได้บอกจุดที่ต้องแก้ไขค่ะ


ภาพการเรียนออนไลน์


ภาพบันทึกพฤติกรรม



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายงานได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน







บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 10 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์อธิบายงานแบบสังเกตพฤติกรรมโดยให้นักศึกษาดูไลฟ์สดของเด็กโดยจะบันทึกพฤติกรรมในแต่ละด้าน
ภาพการเรียนออนไลน์


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนอธิบายงายที่มอบหมายได้ชัดเจน
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันศุกร์ ที่ 3 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดในการทำแบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กทั้ง4ด้านพร้อมมอบหมายงานให้ไปทำ

ภาพงานที่มอบหมาย


ภาพการเรียนออนไลน์


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนอธิบายได้ละเอียดเปิดโอกาสให้ได้ถาม
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน





บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่27มีนาคม พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงดูเด็ก
  •  พ่อแม่
  •  ภูมิหลังของพ่อแม่
  •  จิตวิทยาการเลี้ยงดู
  •  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลเด็ก
  •  เด็ก
  •  การเลี้ยงดูเด็กที่ผิดปกติ
  •  ความผูกพันและวิธีการเลี้ยงดู


หลักการสังเกตว่าพฤติกรรมใดเป็นปัญหา
  •  อายุและเกณฑ์ปกติของพัฒนาการ
  •  ชนิดของพฤติกรรม
  •  ความบ่อยหรือความถี่ของพฤติกรรม
  •  ความรุนแรงที่แสดงออก
  •  ขีดความอดทนของพ่อแม่ ครู ผู้ดูแลเด็ก


พฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  •  การร้องกลั้นหายใจ
  •  การร้องอาละวาด
  •  การดูดนิ้ว
  •  เด็กขี้อาย
  •  เด็กขี้อิจฉา
  •  เด็กพูดปด
  •  เด็กเล่นอวัยวะเพศ
  •  เด็กดื้อ
  •  คำหยาบ
  •  เด็กก้าวร้าว
  •  ปัญหาการกินในเด็ก  เด็กเบื่ออาหาร
  •  ปัญหาการนอนในเด็ก


ปัญหาพัฒนาการเด็กที่พบบ่อย
  •  เด็กพูดช้า
ภาพการสอนออนไลน์


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนอธิบายได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน






บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันศุกร์ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

เป็นการเรียนออนไลน์วันแรก อาจารย์เช็คชื่อและนัดคุยรายละเอียดต่างๆและพาไปสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆ อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ดูคลิปที่อารจารย์โพสให้แล้วสังเกตพฤติกรรมของเด็กในคลิป

ภาพไลฟ์สดขณะเรียน


จากคลิปดังกล่าว ได้รู้ว่าเด็กเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบตุ๊กตาที่อยู่ตรงหน้าทั้งการหมุนตัวและการทำเสียงซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีของแบนดูราที่เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากจะเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมแบบเห็นภาพได้ดี
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนมีพูดคุยเรื่องเกี่ยวกับเด็ก
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน







บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันศุกร์ ที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แผนการจัดกิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต
2. แบบสังเกตพฤติกรรมความสุข




วิธีดำเนินการวิจัย

1. สร้างความคุ้นเคยกับเด็กและจัดเตรียมสภาพแวดล้อมเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์
2. ทดลองก่อนการจัดกิจกรรม ( Pretest )
3. ดำเนินการแผนการจัดกิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิตในช่วงเวลา 9.00 . – 9.40 . ทุกวันอังคาร
วันพุธ วันพฤหัสบดี เป็นเวลา 8 สัปดาห์
4. ผู้วิจัยดำเนินการแผนการจัดจัดกิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิตและสังเกตพฤติกรรมเด็ก
5. เมื่อจัดกิจกรรมเสร็จผู้วิจัย แปรพฤติกรรมความสุขของเด็กเป็นคะแนนและบันทึกลงใน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทุกวันตลอด 8 สัปดาห์
6. นำข้อมูลที่ได้ตลอด 8 สัปดาห์ มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
1. วิเคราะห์หาสถิติพื้นฐานของพฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัย
2. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนพฤติกรรมความสุข ก่อนหลัง โดยใช้สูตร

สรุปผลการวิจัย

จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ดังนี้
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต มีพฤติกรรมความสุขโดยรวมหลังการ
ทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต มีพฤติกรรมความสุข ด้านสนุกสนาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 140 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ) แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (ClusterRandom Sampling) มา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 4 ห้องเรียน และสุ่มอย่างง่าย 
(Simple Random Sampling) โดยทำการจับฉลากนักเรียนห้องที่สุ่มได้ เพื่อจัดเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน

ภาพบรรยากาศระหว่างเรียน



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับบทเรียนได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนอาจจะมีคุยกันบ้าง
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนแต่อาจะมีคุยกับเพื่อนบ้าง




วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563


บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 6 มีนาคม พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

สอบกลางภาค



บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.

อาจารย์ได้มอบมายงานให้นักศึกษาหาวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรม(งานกลุ่ม)
อาจารย์ให้สรุปวิจัยตามหัวข้อตามที่อาจารย์มอบหมายงาน




บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.


นำเสนอบทความ

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี
          ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กวัยนี้เป็นปัญหาที่ง่ายไม่สลับซับซ้อนเป็นปัญหาที่เข้าใจง่าย ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ เกี่ยวข้องกับการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ถ้าเด็กได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมขาดการเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ก็จะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรม ตลอดจนถึงสภาวะทางสังคมมีสิ่งล่อแหลมมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อม
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • จะพบว่าเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นอยากค้นคว้าอยู่แล้วตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน ตลอดจนมีความสนใจสั้น เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย
วิธีแก้ไขปัญหา
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ ลดสิ่งเร้ารอบตัวเด็ก
  • สร้างพฤติกรรมให้เหมาะสมกับเด็ก โดยการจัดระเบียบพฤติกรรม
  • จัดตารางการทำกิจกรรมในกิจวัตประจำวัน



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับบทเรียนได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนได้ดี
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.


วิธีการสังเกตพฤติกรรม


             วิธีการศึกษาพฤติกรรม คือ วิธีการที่ถูกนำมาใช้ในการแสวงหาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรม จะนำวิธีการทาวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการแสวงหาความรู้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์นี้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ กำหนดปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล



      1การทดลอง (Experimental Method)

            เป็นการศึกษาพฤติกรรมในทางจิตวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์สูงมาก โดยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างเหตุการณ์สองเหตุการณ์ และเหตุการณ์ที่เป็นเหตุ เรียกว่า ตัวแปรอิสระ (Tndependent Variable) ส่วนเหตุการณ์ที่เป็นผล เรียกว่า ตัวแปรตาม

        2การสำรวจ (Survey Method)

            เป็นการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์เช่นกัน แม้ว่าจะไม่เข้มข้นนักก็ยังมีวิธีการศึกษาตัวแปรเหมือนการทดลอง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรจะเป็นเหตุเป็นผลแก่กันไม่ได้ 

     3วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง ( Introspection Method )    
                                                                                
            วิธีการตรวจสอบจิตตนเอง หรือ วิธีการพินิจภายในนี้ หมายถึง วิธีการที่บุคคลสังเกตตนเองหรือสำรวจตนเอง โดยการให้บุคคลพิจารณาความรู้สึกของตนเอง สำรวจตรวจสอบตนเอง แล้วรายงานถึงสาเหตุและความรู้สึกของตนเองออกมา

 4วิธีทางคลินิก (Clinical Method)

         เป็นการศึกษาพฤติกรรมแบบลึก (In-Depth Study) รายใดรายหนึ่งโดยใช้เครื่องมือหลาย ๆ อย่าง เพื่อให้ได้ข้อมูลหลาย ๆ ด้าน และใช้ระยะเวลานานเพื่อให้ทราบสาเหตุของพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ

5การสังเกตอย่างมีระบบ (Systematic Observation)

         พฤติกรรมเป็นจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องศึกษาในสถานการณ์ปกติที่สถานการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยการเฝ้าสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเรียกว่า การสังเกตอย่างมีระบบวิธีการนี้ต้องนิยามพฤติกรรมที่จะสังเกตให้ชัดเจนและวัดได้ เรียกว่า นิยามปฏิบัติการ

6การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)

           การใช้แบบสอบถามเหมาะสำหรับในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่มีจำนวนมาก ๆ และต้องการคำตอบอย่างรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

7การทดสอบทางจิตวิทยา (Psychological Testing)

          แบบทดสอบทางจิตวิทยาเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดลักษณะพฤติกรรมที่แอบแฝงอยู่ภายในตัวบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลพยามยามปกปิดซ่อนเร้นไว้ จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม


ภาพบรรยากาศระหว่างเรียน



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับบทเรียนได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนได้ดี
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

วันศุกร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น.



สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย

ความหมายสมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย (ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
  •  3 ปี  วิ่งและหยุดเองได้
  •  4 ปี  เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยกางแขน
  •  5 ปี  เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ตัวอย่าง การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
  •  3 ปี  พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
  •  4 ปี  ช่วยเหลือเพื่อน
  •  5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่
ตัวอย่าง ความทรงจำ
  • 3 ปี  ท่องคำคล้องจองสั้นๆได้
  •  4 ปี  บอกชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์
  •  5 ปี  บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้
ตัวอย่าง การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  •  3 ปี  แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ โดยการลองผิดลองถูก เช่น สวมรองเท้า ติดกระดุม
  •  4 ปี  แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น ใช้ไม้เขี่ยสิ่งของที่เอื้อมไม่ถึง
  • 5 ปี  แก้ปัญหาได้หลายวิธีและรู้จักเลือกวิธีที่เหมาะส





ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับบทเรียนได้ละเอียด
ประเมินเพื่อน   : เพื่อนๆตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนได้ดี
ประเมินตนเอง  : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน



บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 วันศุกร์ ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2563เวลา 13:30 - 16:30 น. ในสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนครั้งสุดท้ายอาจารย์ได...